สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์

สอบป้องกันดูษฎีนิพันธ์ (Dissertation Examination)

ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาจะต้องผ่านสัมมนา ครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหานำเสนอดังต่อไปนี้

บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
คำนำ/กิตติกรรมประกาศ
สารบัญเนื้อหา
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ (ถ้ามี)
บทที่ 1 บทนำ

             โดยทั่วไปประกอบด้วยหัวข้อย่อย คือ
             1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
             2. วัตถุประสงค์การวิจัย
             3. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
             4. ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย
                 - การใช้กลุ่มประชากรเป้าหมายเพียงบางส่วน
                 - ตัวแปรที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา ในกรณีที่ยังมีตัวแปรอื่นเกี่ยวข้องจำนวนมาก และผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาในคราวเดียวกัน
                 - วิธีการวิจัยในกรณีที่สามารถศึกษาด้วยวิธีการอื่นที่น่าสนใจ แต่เลือกศึกษาเพียงวิธีเดียว
                 - ขอบเขตของพื้นที่ทำการวิจัย
             5. นิยามศัพท์ (Definition of Terms) เป็นการบอกความหมายของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้อ่านสื่อความหมายตรงกับผู้วิจัย
             6. ข้อจำกัดในการวิจัย หัวข้อใช้เขียนเมื่อผู้วิจัยควบคุมสถานการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างการวิจัยไม่ได้
             7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

บทที่ 2 การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
             เป็นการแสดงรายละเอียดของการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื้อหาในบทนี้จะต้องแสดงถึงความเข้าใจของผู้วิจัยในเรื่องที่ต้องทำวิจัยเป็นอย่างดี
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                   ส่วนที่ 1 เป็นการนำเสนอผลการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย โดยแบ่งเป็น
                               1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน
                               2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน
                               3. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                   จากเอกสารแต่ละชิ้นควรสรุปถึงประเด็นที่น่าสนใจ และในท้ายที่สุดควรมีการแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งเป็นเป็นที่ผลที่ได้จาการค้นคว้าเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
                   ในการวิจัยบางชิ้นต้องมีการทบทวนเอกสารนอกเหนือจากส่วนที่ 1 นี้ โดยจะมีส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในรายงานการวิจัยและทำให้
ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
                    ส่วนที่ 2 เป็นการนำเสนอผลการค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรชุดหนึ่งเรียกว่า "ตัวแปรคุณลักษณะหรือตัวแปรแฝง" (Latent trait) ได้แก่
                                 เจตคติ ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น จะมีแนวคิดและทฤษฎีที่สนับสนุนค่อนข้างหลากหลาย และมีวิธีการสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน จำเป็นที่ผู้วิจัย
                                 จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมในการวิจัยแต่ละกรณี
                    ส่วนที่ 3 เป็นการนำเสนอผลการค้นคว้าเกี่ยวกับสถิติขั้นสูงที่ใช้ในการวิจัยในบางกรมีผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้สติขั้นสูงมาวิเคราะห์ข้อมูล จึงนำเสนอแนวคิด
                                ของสถิตินั้นอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดเท่านั้น พร้อมตัวอย่างวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทำให้ผู้อ่านทราบถึงความเหมาะสมของสถิติ
                                ที่ใช้และยังช่วยแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเทคนิควิธีทางสถิตินั้น ๆ
                    ส่วนในกรณีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ควรระบุแนวคิดในการวิเคราะห์พร้อมอ้างอิงที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน

บทที่ 3 ระเบียบวิธีการวิจัย
             เป็นการแสดงขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย
             1. ประชากรที่ศึกษา เป็นการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแสดงรายละเอียดเหมาะสมกับประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัย
             2. กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยควรอธิบายการเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยของตนว่า เหตุใดจึงใช้วิธีนั้น การกำหนดขนาดของกลุ่ม
                 ตัวอย่างที่เหมาะสมตามทฤษฎีและเหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยบรรยายขั้นตอนของการสุ่มตัวอย่าง และขนาดกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด
                 อย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรนำเสนอผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ ระบุระดับความคลาดเคลื่อน
                 ที่เกิดขึ้น
             3. ตัวแปรที่ศึกษา
             4. วิธีการสร้างเครื่องมือเป็นการระบุเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการสร้างเครื่องมือในส่วนนี้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
                       4.1 นิยามเชิงทฤษฎี (Conceptual definition) ของตัวแปร
                       4.2 นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition) ของตัวแปร
                       4.3 ตารางแสดงบ่งชี้หรือพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละประเด็นของตัวแปรว่าเป็น Single indicator หรือ Composite indicator
                       4.4 รูปแบบของคำถามที่ใช้ ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นประเภทใด ตามแนวคิดของผู้ใด
                       4.5 ตัวอย่างข้อคำถามที่ได้ พร้อมแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไว้ในภาคผนวกในกรณีที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและ
                             สัมภาษณ์ให้แสดงโครงสร้างของการสังเกตและการสัมภาษณ์ พร้อมรายละเอียดของผลการสังเกต/สัมภาษณ์ไว้ในภาคผนวก
              5. การบรรยายขั้นตอนในการดำเนินการพร้อมแผนภูมิ การบรรยายรายละเอียดในส่วนนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลในการดำเนินการวิจัย
                  แต่ละขั้นตอน
              6. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งความเที่ยง (Reliability) และความตรง (Validity) โดยแสดงเหตุผลประกอบการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ แสดงขั้นตอน
                  ของการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่านำไปใช้กับใครและผลเป็นอย่างไร มีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ พร้อมแสดงผลการคำนวณอย่างชัดเจน
              7. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการบอกกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ วิธีการคิด วิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูล ในขณะเดียวกันจะต้อง
                  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และสมมติฐานซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้จริงในการวิจัย
              8. นำเสนอความเหมาะสมของข้อมูลกับเทคนิคทางสถิติที่เลือกใช้ มีการตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไป ตามสมมติฐานของสถิติตัวนั้นหรือไม่ ในกรณีที่เป็นการ
                   วิเคราะห์เชิงปริมาณต้องระบุแนวคิดในการวิเคราะห์อย่างชัดเจน

บทที่ 4 ผลของการวิเคราะห์ข้อมูล
              การนำเสนอจะมีการจัดลำดับของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย
              1. แสดงตารางที่อธิบายถึงลักษณะเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ เช่น ตารางแสดงเพศ อายุ การศึกษาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพคร่าว ๆ ของกลุ่มตัวอย่าง
              2. แสดงลักษณะของตัวแปรต่าง ๆ ในกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาได้
              3. แสดงตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับของสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
              4. แสดงการเชื่อมโยงข้อค้นพบ

บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
             ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ
             ส่วนที่ 1 เป็นการสรุปผลการวิจัย เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ 4 โดยเขียนสรุป ตามลำดับของวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย
             ส่วนที่ 2 เป็นเป็นอภิปรายผลการวิจัย หมายถึง การตีความและประเมินข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย เพื่ออธิบายยืนยันความสอดคล้องหรือความแตกต่างระหว่าง
                          ข้อค้นพบและสมมติฐานการวิจัยอธิบายถึงข้อค้นพบดังกล่าวว่าสนับสนุนพฤษฎีที่เกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร
             ส่วนที่ 3 เป็นการเสนอแนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยตามเจตนาที่กำหนดไว้ในบทที่ 1
             ส่วนที่ 4 เป็นการเขียนข้อเสนอแนะ
                         1. จะต้องเป็นสาระที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัย มิใช่ข้อคิดเห็นหรือจากสามัญสำนึกใด ๆ ของผู้วิจัย จะต้องใช้ข้อมูลจากการวิจัยเป็นพื้นฐานในการเขียน
                         2. จะต้องเป็นเรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่รู้จักอยู่ทั่วไป
                         3. ข้อเสนอแนะนั้นจะต้องปฏิบัติได้ภายใต้ขอบเขต หรือเรือนไขที่กำหนดไว้ เช่น ขอบเขตของความสามารถของบุคคล ของเงินงบประมาณและของเวลา
                         4. ข้อเสนอแนะนั้นต้องมีความต่อเนื่องกับงานวิจัย

บรรณานุกรม
ภาคผนวก
                         1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์) ฉบับสมบูรณ์
                         2. ข้อมูลจากการสังเกต/การสัมภาษณ์อย่างละเอียด ควรนำเสนอเป็นของแต่ละบุคคล
                         3. รายละเอียดอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพและความชัดเจนของงานวิจัย
ประวัตินักศึกษา



ขั้นตอนการจองสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ นักศึกษาต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้

ชื่อแบบฟอร์ม ชื่อย่อ Download
  • สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์
ปร.ด.6
  • สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
ปร.ด.6.1
  • สอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ (ประธานสาขา)
ปร.ด.6.2
  • แบบขออนุมัติสอบดุษฎีนิพนธ์ (บว.)
ว.7
  • แบบเสนอขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ (บว.)
ว.8
  • แบบเสนอขออนุมัติเปลื่ยนชื่อเรื่อง (บว.)
ว.3
  • ใบตรวจผลการศึกษา (บว.)
check grade
     
  • ใบส่งเอกสารสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ (ฉบับแก้ไข)
    - ใช้หลังการสอบฯ
ปร.ด.7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

  • Mon-Fri 9.00-16.30 น. Sat-Sun 9.30-15.30 น.