สอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination : QE)
เน้นเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และเนื้อหาสาระสำคัญที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเป็นสำคัญ (Emphasis on the Review Literature)
ในการสอบวัดคุณสมบัตินักศึกษาจะต้องนำเสนอเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และต้องนำเสนอสาระสำคัญที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
รายละเอียดของการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยมีเนื้อหาสาระที่นำเสนอจะต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
บทนำ
โดยทั่วไปประกอบด้วยหัวข้อย่อย คือ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
3. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
4. ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย
- การใช้กลุ่มประชากรเป้าหมายเพียงบางส่วน
- ตัวแปรที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา ในกรณีที่ยังมีตัวแปรอื่นเกี่ยวข้องจำนวนมาก และผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาในคราวเดียวกัน
- วิธีการวิจัยในกรณีที่สามารถศึกษาด้วยวิธีการอื่นที่น่าสนใจ แต่เลือกศึกษาเพียงวิธีเดียว
- ขอบเขตของพื้นที่ทำการวิจัย
5. นิยามศัพท์ (Definition of Terms) เป็นการบอกความหมายของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้อ่านสื่อความหมายตรงกับผู้วิจัย
6. ข้อจำกัดในการวิจัย หัวข้อใช้เขียนเมื่อผู้วิจัยควบคุมสถานการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างการวิจัยไม่ได้
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นการแสดงรายละเอียดของการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื้อหาในบทนี้จะต้องแสดงถึงความเข้าใจของผู้วิจัยในเรื่องที่ต้องทำวิจัยเป็นอย่างดี
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นการนำเสนอผลการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย โดยแบ่งเป็น
1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน
2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน
3. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากเอกสารแต่ละชิ้นควรสรุปถึงประเด็นที่น่าสนใจ และในท้ายที่สุดควรมีการแสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งเป็นที่ผลที่ได้จากการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในการวิจัยบางชิ้นต้องมีการทบทวนเอกสารนอกเหนือจากส่วนที่ 1 นี้ โดยจะมีส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ในรายงานการวิจัย
และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 2 เป็นการนำเสนอผลการค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรชุดหนึ่งเรียกว่า "ตัวแปรคุณลักษณะหรือตัวแปรแฝง" (Latent trait)
ได้แก่ เจตคติ ความเชื่อ ค่านิยม เป็นต้น จะมีแนวคิดและทฤษฎีที่สนับสนุนค่อนข้างหลากหลาย และมีวิธีการสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน
จำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมในการวิจัยแต่ละกรณี
ส่วนที่ 3 เป็นการนำเสนอผลผลการค้นคว้าเกี่ยวกับสถิติขั้นสูงที่ใช้ใช้ในการวิจัย ในบางกรณีผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูง มาวิเคราะห์ข้อมูล
จึงนำเสนอแนวคิดของสถิตินั้นอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดเท่านั้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ทำให้ผู้อ่านทราบ
ถึงความเหมาะสมของสถิติที่ใช้และยังช่วยแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเทคนิควิธีทางสถิตินั้น ๆ
ส่วนในกรณีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ควรระบุแนวคิดในการวิเคราะห์พร้อมอ้างอิงที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนการจองสอบวัดคุณสมบัติ นักศึกษาต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
ชื่อแบบฟอร์ม | ชื่อย่อ | Download |
|
ปร.ด.3 | ![]() |
|
ปร.ด.3.1 | ![]() |
|
ปร.ด.3.2 | ![]() |
|
ปร.ด.7 | ![]() |