สัมมนา ครั้งที่ 1 : เน้นระเบียบวิธีวิจัยสำคัญ (Seminar 1 : Emphasis on the Methodology)
ในการสัมมนา ครั้งที่ 1 นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination : QE) เรียบร้อยแล้ว และนำเสนอโดยเน้นระเบียบวิธีวิจัย
เป็นสำคัญ เป็นแบบแผนของการวิจัย มีการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน
ได้ซักถาม และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไข และพัฒนาดุษฎีนิพนธ์ในขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กับผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ๆ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 1 โดยมีเนื้อหาสาระที่นำเสนอจะต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
ระเบียบวิธีการวิจัย
เป็นการแสดงขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย
1. ประชากรที่ศึกษา เป็นการระบุกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแสดงรายละเอียดเหมาะสมกับประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัย
2. กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยควรอธิบายการเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยของตนว่าเหตุใดจึงใช้วิธีนั้น การกำหนดขนาด
ของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมตามทฤษฎี และเหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยบรรยายขั้นตอนของการสุ่มตัวอย่าง และขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ที่กำหนดอย่างชัดเจน นอกจากนี้ควรนำเสนอผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ ระบุระดับความคลาดเคลื่อน
ที่เกิดขึ้น
3. ตัวแปรที่ศึกษา
4. วิธีการสร้างเครื่องมือเป็นการะบุเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการสร้างเครื่องมือในส่วนนี้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ
4.1 นิยามเชิงทฤษฎี (Conceptual definition) ของตัวแปร
4.2 นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition) ของตัวแปร
4.3 ตารางแสดงบ่งชี้หรือพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละประเด็นของตัวแปรว่าเป็น Single indicator หรือ Composite indicator
4.4 รูปแบบของคำถามที่ใช้ ควรระบุให้ขัดเจนว่าเป็นประเภทใด ตามแนวคิดของผู้ใด
4.5 ตัวอย่างข้อคำถามที่ได้ พร้อมแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไว้ในภาคผนวก
ในกรณีที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ให้แสดงโครงสร้างของการสังเกตและการสัมภาษณ์
พร้อมรายละเอียดของผลการสังเกต/สัมภาษณ์ไว้ในภาคผนวก
5. การบรรยายขั้นตอนในการดำเนินการพร้อมแผนภูมิ การบรรยายรายละเอียดในส่วนนี้จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลในการดำเนินการวิจัย
แต่ละขั้นตอน
6. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งความเที่ยง (Reliability) และ ความตรง (Validity) โดยแสดงเหตุผลประกอบการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ
แสดงขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่านำไปใช้กับใครและผลเป็นอย่างไร มีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ พร้อมแสดงผลการคำนวณ
อย่างชัดเจน
7. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการบอกกล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ วิธีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับข้อมูล ในขณะเดียวกันจะต้อง
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้จริงในการวิจัย
8. นำเสนอความเหมาะสมของข้อมูลกับเทคนิคทางสถิติที่เลือกใช้ มีการตรวจสอบว่าข้อมูลเป็นไปตามสมมติฐานของสถิติตัวนั้นหรือไม่ ในกรณีที่เป็น
การวิเคราะห์เชิงปริมาณต้องระบุแนวคิดในการวิเคราะห์อย่างชัดเจน
ขั้นตอนการจองสอบสัมมนา ครั้งที่ 1 นักศึกษาต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้