ปรัชญา
มุ่งสู่การพัฒนาองค์กรความรู้ใหม่ทางด้านสังคมศาสตร์ในแนวสหสาขาวิชา เพื่อพัฒนาและ
เสริมสร้างความทันสมัยและความเป็นนานาชาติ ให้แก่กำลังคนระดับสูงของประเทศ
อันเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนเแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสถานะทางสังคมในปัจจุบันและอนาคต
ปณิธาน
มุ่งมั่นเพื่อการอุดมศึกษาขั้นสูงสุด
ที่มีคุณภาพมีคุณค่า และมีคุณประโยชน์
พันธกิจ
เปิดโอกาสให้ผู้มุ่งรู้ มุ่งเรียน ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ได้พัฒนาศักยภาพเพื่อ สัมฤทธิ์ผลในการเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่า
ในฐานะแห่งความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
สมควรแห่งเกียรติศักดิ์และความภูมิใจสูงเด่นในความเป็นรามคำแหง
อันเป็นพระนาม ของพระมหาราชองค์แรกของราชอาณาจักรไทย
วิสัยทัศน์
ศึกษาพิจารณาและวินิจฉัยนานาประเด็นเชิงสหวิทยาการและ
ในบริบทแห่งความเป็นมาตรฐานสากล คือ มุ่งเข้าถึง เข้าใจ
และแนะวิธีการเข้าแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ในเชิงบูรณาการ
การใช้คำสั่ง Anchor
ขนาดตัวอักษร | ตาราง | นำไฟล์ PDF มาโชว์ |
ขนาดตัวอักษร
ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16 โดยขนาดตัวอักษร Preset มี 6 แบบ ดังนี้
Heading 1
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
Heading 2
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
Heading 3
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
Heading 4
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
Heading 5
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
Heading 6
ข้อความคำอธิบายตัวอย่าง ขนาดตัวอักษรปกติ ขนาด 16
ตารางที่สร้างในบทความ
ตาราง |
||
ข้อมูล 1 | ข้อมูล 2 | ข้อมูล 3 |
ดีมาก | ดีเยี่ยม | ดี |
ดี | ดีมาก | ดีมาก |
การใช้ Module Wrapper และเรียกมาแสดงผลโดยวางโค้ด {loadmoduleid xxx}
สำนักงาน โครงการปรัชญาดุษฏีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง อาคารท่าชัย ชั้น 4 ถนนรามคำแหง
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทร. 08-7917-3370, 09-8992-3396
02-310 8549, 02-310 8566
02-310-8000 ต่อ 3760-3774
Website : www.phd.ru.ac.th
E-mail :
Facebook : Ramkhamhaeng.phdru
เวลาเปิดทำการ
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.30-15.30 น.
โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาเอก มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเสริมสร้างความทันสมัย
ให้แก่วงการวิชาการและอำนวยประโยชน์ต่อส่วนรวม และประเทศชาติ
ผลิตดุษฎีบัณฑิตคุณภาพสูง ในวิทยาการสาขาที่ตนศึกษาและสามารถค้นคว้า วิจัย สร้างสรรค์
ผลิตงานวิจัยอันมีคุณค่าและประโยชน์ตามวิถีแห่งความรู้คู่คุณธรรม (Knowledge and Virtue)
โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ได้เริ่มขึ้นจากการตัดสินใจของอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข ที่จะทำให้หลักสูตรปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เกิดขึ้นอย่างจริงจังหลังจากที่ได้มีแผนพัฒนามหาวิทยาลัยที่จะเปิดหลักสูตรปริญญาเอกในปี 2540 ในการนี้ อธิการบดีได้มอบความไว้วางใจ
ให้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรปริญญาเอก
ในสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เสนอไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยว่าจะเปิดตั้งแต่ปี 2540 แต่ยังไม่สามารถเปิดได้
เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรโครงการปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ได้ติดต่อประสานงานกับ
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิจากทบวงมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบมาตรฐานอุดมศึกษา (นายมนตรี นาคเจือ)
(2) ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงบประมาณที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอุดมศึกษาของไทย (นายอำพล ทิมาสาร)
(3) ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายเชษฐ์ บุญประเทือง)
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของโครงการฯ (ศาสตราจารย์ ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ) เพื่อร่วมมือกับคณาจารย์
ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตามที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงจะมอบหมายให้มาร่วมมือเป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศาสตราจารย์ ดร.จุฑา เทียนไทย และ รองศาสตราจารย์ สุกัญญา ตันธนวัฒน์) คณะกรรมการฯ ได้รวบรวม
และวิเคราะห์ปัญหาของหลักสูตรระดับปริญญาเอกที่ดำเนินการอยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย และแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
เหล่านี้ที่จะทำให้ได้มาซึ่งหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ที่มีกระบวนการและระบบประกันคุณภาพที่เป็นจริงในด้านการปฏิบัติการ
หลักสูตรที่คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ ได้จัดทำเพื่อประเดิมการดำเนินการในปีแรกมี 6 หลักสูตร คือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
เทคโนโลยีการศึกษา จิตวิทยาให้คำปรึกษา และจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ หลังจากที่อธิการบดีได้นำเสนอต่อที่ประชุม
สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงและได้ผ่านความเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 จึงได้มีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหารเพื่อดำเนินการให้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หลักสูตรนี้มีการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ระบบการคัดเลือก/รับนักศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ให้นักศึกษาสามารถศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยและการประเมินเพื่อการพัฒนาหลักสูตรทุก 3 ปี
จำนวนนักศึกษาที่รับในปีแรก ได้สอบคัดเลือกสัมภาษณ์ผู้สนใจเข้ามาศึกษาทั้งหมด 262 คน จำแนกตามคณะ/สาขาวิชาดังนี้
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 75 คน
สาขาวิชาสังคมวิทยา 58 คน
สาขาวิชารัฐศาสตร์ 57 คน
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 27 คน
สาขาวิชานิติศาสตร์ 26 คน
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 3 คน
สาขาวิชาจิตวิทยาให้คำปรึกษา 3 คน
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 4 คน
สาขาวิชาวิจัยการศึกษา 9 คน
ผู้ที่ได้ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาภาคการศึกษาแรก จำนวน 262 คน ในภาคการศึกษาสอง มีนักศึกษาลงทะเบียน 234 คน
ที่ได้สอบป้องกันข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์แล้ว 53 คน ผ่านการสอบข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ 48 คน
ได้ส่งข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (ฉบับแก้ไข) 6 คน
ในปีการศึกษา 2545 โครงการฯ จะเปิดรับสมัครรุ่น 2 โดยอาจมีสาขาวิชาที่จะเปิดเพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ
(1) บริหารการศึกษา และ
(2) สื่อสารมวลชน รวมเป็น 11 สาขาวิชา